การอบรมให้กับสถานประกอบการ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2567 หลักสูตร “นวัตกรรมกระบวนการจ้างงานคนพิการอย่างยั่งยืนแบบองค์รวมสำหรับสถานประกอบการ” วันที่ 25 ก.ค.67

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2567 ทางมูลนิธิปัญพัฒน์เพื่อคนพิการ และบริษัท เวิร์คเอเบิ้ล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้ร่วมกันจัดงานอบรมหลักสูตร “นวัตกรรมกระบวนการจ้างงานคนพิการอย่างยั่งยืนแบบองค์รวมสำหรับสถานประกอบการ” ครั้งที่ 2 ปี 2567 ซึ่งเป็นการอบรมเพื่อยกระดับฝีมือแรงงาน ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 ให้กับสถานประกอบการ ซึ่งจัดขึ้นที่ โรงแรมปริ้นซ์ตั้นพาร์คสวีท (ดินแดง) ถนนมิตรไมตรี กรุงเทพฯ ซึ่งในการอบรมครั้งที่ 2 เรามีคนพิการทางการได้ยินเข้าร่วมด้วยจาก 3 จังหวัด สระบุรี สมุทรสาคร กาญจนบุรี จึงได้มีการใช้บริการ อาจารย์ล่ามภาษามือ 2 ท่าน คือ คุณพวงเพชร ลิมปิสุรีย์ และคุณธนา ทิมโพธิสกุล มาให้บริการล่ามภาษามือตลอดงานอบรม  































































นางสาวชนัญชิดา ลิ้มนนทกุล ได้กล่าว เรียนท่านประธาน ท่านวิทยากร ท่านผู้บริหาร ผู้แทนจากสถานประกอบการ แขกผู้มีเกียรติทุกท่าน ทีมงานจิตอาสา และผู้เข้ารับการอบรมทุกท่าน และกล่าว “ดิฉัน นางสาวชนัญชิดา ลิ้มนนทกุล กรรมการบริษัท เวิร์คเอเบิ้ล คอร์ปอเรชั่น และมูลนิธิปัญพัฒน์เพื่อคนพิการ ซึ่งทั้ง 2 องค์กร ได้ร่วมมือกันจัดงานอบรม หลักสูตร “นวัตกรรมกระบวนการจ้างงานคนพิการอย่างยั่งยืนแบบองค์รวมสำหรับสถานประกอบการ” ประจำปี 2567

 



ซึ่งเราจะมีการจัดการอบรมขึ้นในปีนี้ ทั้งหมด 8 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับสถานประกอบการและครอบครัวคนพิการในประเทศไทย จึงได้เชิญวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถมาให้ความรู้กับทุกท่าน ดังนี้

·      คุณศุภลักษ์ เสนาพรหม (ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมความเสมอภาคและงานคดี)

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

·      คุณทรงพล เอาเจริญภักดิ์ (ครูฝึกฝีมือแรงงาน ระดับ ช3) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 13 กรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน

·      คุณสรยุทธ รักษาศรี ผจก.ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน)

·      คุณปรีดา ลิ้มนนทกุล (กรรมการ มูลนิธิปัญพัฒน์เพื่อคนพิการ และกรรมการผู้จัดการบริษัท เวิร์คเอเบิ้ล คอร์ปอเรชั่น จำกัด) รางวัลบุคคล อโชก้า เฟลโลว์ ประจำปี 2557 นักกิจการเพื่อสังคมด้านการพัฒนาศักยภาพคนพิการ)

 

บัดนี้ได้เวลาแล้ว เรียนเชิญท่านประธาน คุณภัทรพงศ์ เทพา ที่ปรึกษาอาวุโสมูลนิธิปัญพัฒน์เพื่อคนพิการ  ให้เกียรติเป็นประธาน กล่าวเปิดการอบรม หลักสูตร “นวัตกรรมกระบวนการจ้างงานคนพิการอย่างยั่งยืนแบบองค์รวมสำหรับสถานประกอบการ” ครั้งที่ 2 ประจำปี 2567 ในครั้งนี้ ค่ะ”

 



ท่านประธานกล่าว “ผม นายภัทรพงศ์ เทพา อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และที่ปรึกษาอาวุโส มูลนิธิปัญพัฒน์เพื่อคนพิการ มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนร่วมในการกล่าวเปิดงานอบรมในครั้งนี้ ปัจจุบันเราทราบกันโดยทั่วถึงแล้วว่า ประเทศไทยได้ร่วมลงนามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการแห่งสหประชาชาติ ทำให้มีพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ในปี พ.ศ.2550 ซึ่งถือได้ว่าเป็นกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนสำหรับคนพิการ ที่มีสิทธิประโยชน์ต่างๆ มากมายสำหรับคนพิการ รวมถึงผู้เกี่ยวข้อง อาทิเช่น ผู้ดูแลคนพิการ ผู้ช่วยคนพิการ เป็นต้น อีกทั้งยังมีระเบียบเพื่อให้หลายภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการยกระดับคุณภาพชีวิตคนพิการ ตัวอย่างเช่น กฎหมายจ้างงานคนพิการ ที่ได้กำหนดให้สถานประกอบการที่มีพนักงาน ลูกจ้าง ถึง 100 คน ต้องจ้างคนพิการ 1 คน หรือร้อยละ 1

ซึ่งระเบียบดังกล่าวได้มีการบังคับใช้เมื่อ พ.ศ.2554 กว่า 14 ปี ยังพบว่าการจ้างงานคนพิการเข้าทำงานในสถานประกอบการนั้น ยังไม่สามารถปฏิบัติได้ครบถ้วน รวมถึงหน่วยงานราชการก็ไม่สามารถปฏิบัติได้ครบถ้วนเช่นกัน ทำให้มีการสมทบเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เป็นจำนวนมาก จนปรากฏต้องส่งเงินคืนคลัง ไปแล้ว 2 พันล้านบาท และรอคืนคลังอีก 6 พันล้านบาท ทำให้เกิดประโยชน์กับคนพิการไม่ทั่วถึงตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

ตลอดมาตั้งแต่ปี 2551 ผู้บริหาร กรรมการ ของมูลนิธิปัญพัฒน์เพื่อคนพิการ ได้มีการริเริ่มนวัตกรรมกระบวนการต่างๆ ขึ้นมา หรือ โมเดล เพื่อง่ายต่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ อาทิเช่น เซ็นทรัลโมเดล ออมสินโมเดล ไอซีทีโมเดล มาม่าโมเดล เป็นต้น โดยพัฒนากระบวนการตามความต้องการของสถานประกอบการ จนมีความสำเร็จ สามารถช่วยเหลือครอบครัวคนพิการได้ถูกต้องตามระเบียบ ถูกใจสถานประกอบการ จนได้รับรางวัลทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นต้นแบบให้กับสถานประกอบการอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งกระบวนการก็ยังสอดคล้องกับแนวทาง “เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ของสหประชาชาติ หรือ SDGs (Sustainable Development Goals) ทำให้หลายบริษัทสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างเป็นระบบ

การจัดการอบรมในครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์จะเผยแพร่โมเดลต่างๆ เพื่อให้สถานประกอบการนำไปปรับใช้ หรือมีความร่วมมือกับมูลนิธิปัญพัฒน์เพื่อคนพิการ โดยทางมูลนิธิปัญพัฒน์ฯ ยินดีเป็นที่ปรึกษา  ให้กับสถานประกอบการทุกแห่ง สำหรับแขกผู้มีเกียรติที่ได้เข้าร่วมการอบรมทุกท่าน ล้วนเป็นส่วนหนึ่งในระบบนิเวศน์กฎหมายจ้างงานคนพิการ ความรู้ในครั้งนี้ ทุกท่านสามารถเข้ามามีส่วนร่วมยกระดับคุณภาพชีวิตคนพิการได้ด้วยเช่นกัน บัดนี้ได้เวลาแล้ว ผมขอกล่าวเปิดงานอรมในครั้งนี้ ขอให้ทุกท่านได้รับความรู้อย่างเต็มที่ จากท่านวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถ และขอให้การจัดงานอบรม หลักสูตร “นวัตกรรมกระบวนการจ้างงานคนพิการอย่างยั่งยืนแบบองค์รวมสำหรับสถานประกอบการ” ในครั้งนี้ ราบรื่น สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งใจไว้ ครับ

 




ในช่วงก่อนการอบรมช่วงเช้า เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ต้องมีการสลับเนื้อหาการอบรมช่วงเช้าไปเป็นช่วงบ่าย และช่วงบ่ายมาเป็นช่วงเช้า โดยเราจะนำช่วงเสวนาไป อยู่ช่วงบ่าย เนื่องจากต้องรอท่านวิทยากร ไปปฏิบัติภารกิจด่วนที่รัฐสภา ส่วนในช่วงเช้า วิทยากรของเรา คุณปรีดา ลิ้มนนทกุล จะได้บรรยาย เริ่มจากเวลา 9.30 น. ไปถึง 11.30 น. โดยจะมีพักเบรกอาหารว่างตอน 10.00 น.  ดังนั้นในช่วงเช้า คุณปรีดา ลิ้มนนทกุล จะมาแลกเปลี่ยนความรู้กับทุกท่าน ในหัวข้อ “รู้เขารู้เรา เข้าใจคนพิการ” และขอเล่าสบายๆ ถึง “ความเป็นมาของมูลนิธิปัญพัฒน์เพื่อคนพิการ” และโมเดลความสำเร็จ 2 โมเดล คือ “เซ็นทรัลโมเดล” และ “ออมสินโมเดล”

 













คุณภัทรพงศ์ เทพา ที่ปรึกษาอาวุโส ของมูลนิธิปัญพัฒน์เพื่อคนพิการ ได้เชิญวิทยากรรับเชิญ คุณสรยุทธ รักษาศรี ผจก.ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์และธุรการ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ขึ้นเวทีเพื่อรับหนังสือสรุปการได้รับสิทธิมาตรา 35 ของครอบครัวคนพิการ โดยทำแยกเป็นรายเดี่ยว ซึ่งจะเป็นหนังสือต้นแบบที่จะมีการผลิตเป็นตัวอย่างให้สังคมไทยในอนาคตอันใกล้นี้ และในช่วงบ่ายท่านจะได้มาแบ่งปันประสบการณ์ “มาม่าโมเดล”

 

คุณภัทรพงศ์ เทพา ที่ปรึกษาอาวุโส ของมูลนิธิปัญพัฒน์เพื่อคนพิการ ได้เชิญคุณรุ่งนภา อะนันตะ ผจก.ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ บริษัท เลียกเซ้ง เทรดดิ้ง จำกัด ซึ่งได้มีความร่วมมือกับมูลนิธิปัญพัฒน์เพื่อคนพิการมาโดยตลอด และเราได้ไอเดียการทำเล่มคู่มือที่เมื่อสักครู่มอบให้คุณสรยุทธ มาจากบริษัท เลียกเซ้ง เทรดดิ้ง จำกัด  ขึ้นเวทีเพื่อรับหนังสือต้นแบบ เรียกว่าเป็นต้นคิดให้ทางเราได้คิดทำคู่มือรูปแบบนี้ ขึ้นมา


คุณภัทรพงศ์ เทพา ที่ปรึกษาอาวุโส ของมูลนิธิปัญพัฒน์เพื่อคนพิการ ได้เชิญคุณณัฐวัฒน์  พรชัยศิริมงคล ซึ่งกำลังจะเข้ามามีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการด้านงานนวัตกรรมกระบวนการและงานโครงการ ขึ้นบนเวทีเพื่อรับหนังสือที่รวบรวมการดำเนินการกับหน่วยงานราชการของสถานประกอบการ บริษัท คิวพีเอ็ม ซึ่งมีรายละเอียดสมบูรณ์มากที่สุด

คุณภัทรพงศ์ เทพา ที่ปรึกษาอาวุโส ของมูลนิธิปัญพัฒน์เพื่อคนพิการ ได้เชิญ พ..ต.ท.ยุทธนา เกษมวัฒนา ที่ปรึกษามูลนิธิมิราเคิลออฟไลฟ์ ขึ้นเวทีเพื่อรับหนังสือสรุปการได้รับสิทธิมาตรา 35 ของครอบครัวคนพิการ ซึ่งจะเป็นหนังสือต้นแบบที่จะมีการผลิตเป็นตัวอย่างให้สังคมไทยในอนาคตอันใกล้นี้ และได้กล่าวถึงความร่วมมือในอนาคตกับมูลนิธิปัญพัฒน์เพื่อคนพิการ



 



ก่อนทานอาหารเที่ยง ซึ่งเป็นบุฟเฟ่ต์นานาชาติ ที่ชั้น 1 ได้มีการถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน

 

















สำหรับช่วงบ่ายจะต่อเนื่องจากช่วงเช้า เราทราบปัญหาที่เกิดขึ้นของการบังคับใช้กฎหมายการจ้างงานคนพิการ แล้ว สถานประกอบการจะมีทางออกอย่างไร ควรทำอย่างไร และตัวอย่างที่เห็นผลจริงๆ มีโมเดล อะไรบ้าง  ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับความรู้จาก วิทยากรทั้ง 4 ท่าน โดยมีเชิญท่านประธานเป็นพิธีกร 1 ท่าน ดังนี้

 







1.      ท่านประธาน คุณภัทรพงศ์ เทพา อดีตผู้บริหาร ผู้ช่วยผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิต และเป็นที่ปรึกษาอาวุโส ของมูลนิธิปัญพัฒน์เพื่อคนพิการ จะมาเป็นพิธีกร ในช่วงเสวนา

2.      คุณศุภลักษ์ เสนาพรหม (ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมความเสมอภาคและงานคดี) กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

3.      คุณทรงพล เอาเจริญภักดิ์ (ครูฝึกฝีมือแรงงาน ระดับ ช3) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 13 กรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน

4.      คุณสรยุทธ รักษาศรี ผจก.ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์และธุรการ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน)

5.      คุณปรีดา ลิ้มนนทกุล (กรรมการ มูลนิธิปัญพัฒน์เพื่อคนพิการ และกรรมการผู้จัดการบริษัท เวิร์คเอเบิ้ล คอร์ปอเรชั่น จำกัด) รางวัลบุคคล อโชก้า เฟลโลว์ ประจำปี 2557 นักกิจการเพื่อสังคมด้านการพัฒนาศักยภาพคนพิการ)

 











คุณสรยุทธ รักษาศรี ผจก.ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์และธุรการ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ได้บรรยายถึงความเป็นมา แนวคิด ของ “มาม่าโมเดล” และการดำเนินงานของมาม่าโมเดล ตั้งแต่ปี 2563 ถึงปัจจุบัน ซึ่งทางกรรมการของ มูลนิธิปัญพัฒน์เพื่อคนพิการ นายปรีดา ลิ้มนนทกุล ได้มาเป็นที่ปรึกษาโครงการตั้งแต่ ปี 2561 ถึงปัจจุบัน โดยแรงบันดาลใจของมาม่าโมเดล มีที่มาจากสมาชิกของครอบครัวของพนักงานบริษัทมาม่า ประสบอุบัติเหตุจนพิการ และครอบครัวอดีตพนักงานบริษัทมาม่า ที่ประสบอุบัติเหตุจนพิการ รวม 3 ครอบครัว ตลอดการบรรยาย ผู้เข้ารับการอบรมให้ความสนใจใน “มาม่าโมเดล” อย่างมาก แม้แต่ คุณศุภลักษ์ เสนาพรหม (ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมความเสมอภาคและงานคดี) กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ยังขอนขุญาตึณสรยุทธ ย้อนหลังไป 2 ปี ว่าได้นำ “มาม่าโมเดล” ไปเผยแพร่ เมื่อต้องมีการบรรยายถึงตัวอย่างการใช้สิทธิมาตรา 35 ในการส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการที่ถูกต้อง ในการบรรยายเรื่อง “กฎหมายจ้างงานคนพิการ” ให้กับสถานประกอบการ ตั้งแต่ปี 2565 ถึงปัจจุบัน


















หลังจบช่วงเสวนา จะเข้าสู่ช่วงการเชิญครอบครัวคนพิการที่ได้รับสิทธิมาตรา 35 (7) ความช่วยเหลืออื่นใด ในการส่งเสริมอาชีพอิสระครอบครัวคนพิการ จำนวน 3 ครอบครัว คือ (1) ครอบครัวคุณวรรษา ตันติสกุล อาศัยในจังหวัดนนทบุรี ประกอบอาชีพร้านอาหารตามสั่ง-ร้านข้าวแกง ซึ่งเป็นสิทธิมาตรา 35 จากบริษัทมาม่า (2) ครอบครัวคุณอรินทรา เจริญทอง อาศัยในจังหวัดระยชอง ประกอบอาชีพร้านค้าปลีก-ร้านของฝาก และ (3) ครอบครัวคุณขนิษฐา นัยฑล อาศัยในจังหวัดสระบุรี ประกอบอาชีพจำหน่ายเครื่องดื่มเคลื่อนที่ ขึ้นบนเวทีเล่าประสบการณ์การได้รับสิทธิมาตรา 35 และการประกอบอาชีพ ให้ผู้เข้าอบรมได้รับทราบกัน

 








 

ในช่วงท้าย คุณภัทรพงศ์ เทพา ที่ปรึกษาอาวุโส ของมูลนิธิปัญพัฒน์เพื่อคนพิการ เชิญ รศ.ดร.นิสิต อินทมาโน ท่านเป็นผู้อำนวยการหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม เพื่อมอบหนังสือกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งเป็นคัมภีร์นำทางของมูลนิธิปัญพัฒน์ ที่เราใช้อบรมจิตอาสาของเราให้รู้กฎหมายและสิทธิตามกฎหมาย เป็นการแสดงถึงความร่วมมือกันในอนาคตที่ทางศูนย์กฎหมายศรีปทุม จะพิจารณาในการจัดอบรมคอร์สที่เรากำลังอบรมกันอยู่นี้ ให้กับสถานประกอบการ ซึ่งจะเป็นความร่วมมือในอนาคต

 





 

ตอนท้ายของงานอบรมก่อนจบการอบรม ได้มีการเชิญให้ นายโฆษิต เสริมรัมย์ (ทนายความและที่ปรึกษาสถานประกอบการที่ต้องจ้างงานคนพิการ), นางสาวรชต บุปผานนทพัฒน์ (จิตอาสา อสม. นนทบุรี), น.ส.วิลาวัลย์ สินธรชัยกุล (ฝ่ายการตลาด/ ช่องข่าวเนชั่น 22), ทนายวรกร ไหลหรั่ง (ที่ปรึกษา นายกสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์) และ นางสาวจันทร์ใจ  สิมดี (นายกสมาคมคนพิการจังหวัดหนองบัวลำภู) ได้แสดงความคิดเห็นถึงสาระตลอดงานอบรม และการกล่าวถึงโอกาสในความร่วมมือกันในอนาคต











ภายในงานยังมีการนำแก้วน้ำลายภาพวาดกาแฟ ของโครงการ “ปิดทองหลังคนพิการ 5” มาตั้งโชว์บริเวณโต๊ะลงทะเบียน สำหรับกรณีบริจาคเงินเข้ามูลนิธิปัญพัฒน์เพื่อคนพิการขั้นต่ำ 250 บาท จะได้รับแก้วน้ำ 1 ใบ ส่วนโต๊ะข้างๆ ได้ให้ นางสาวอรินทรา เจริญทอง ซึ่งเป็นผู้ได้รับสิทธิมาตรา 35 ส่งเสริมอาชีพร้านค้าปลีก (ร้านของฝาก) ในจังหวัดระยอง นำสินค้าของฝากจากระยอง มาจำหน่ายให้กับผู้เข้าร่วมงานอบรมด้วย


















 เครดิตภาพ:

1.      นางสาวชนัญชิดา ลิ้มนนทกุล

2.      นางสาวชณธร ลิ้มนนทกุล

3.      นายสรยุทธ รักษาศรี

4.      นางสาวพิชชานันท์ ภูแป้ง

5.      นายทวีพร อนุตรพงษ์สกุล

6.      นางสาวอลิณฌา สมวงศ์