บทความ “กว่าจะเป็น WC” ตอนที่ 3 ทำไมต้อง “ขจัดความยากจนทุกรูปแบบ” ตามหลัก SDGs

สำหรับทความตอนนี้ แนะนำผู้อ่านสั้นๆ ก่อนว่า ในระดับโลกมีการกำหนดเป้าหมายร่วมกันที่ทุกประเทศทั่วโลกจะทิศทางเดียวกันจากสหประชาชาติ โดยมีระยะเวลาครั้งละ 15 ปี ซึ่งในห้วงเวลานี้ระหว่างปี ค.ศ.2015-2030 ได้มีการกำหนดแนวทาง “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” หรือ Sustainable Development Goals มีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า SDGs ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากในการนำไปปรับใช้ หรืออาจถูกนำไปเป็นตัวชี้วัด ในแทบทุกองค์กรทั่วโลก เช่น การประหยัดพลังอย่างยั่งยืน การรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน เป็นต้น คือ “อย่างยั่งยืน” ไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง

 

มูลนิธิปัญพัฒน์เพื่อคนพิการ ของเราก็นำมาใช้ด้วยเช่นขกัน คือเราจะเป็นมูลนิธิที่เป็น “องค์กรเพื่อคนพิการอย่างยั่งยืน” หรือเรามีโครงการด้านอาชีพ เช่น “โครงการ “อาชีวพัฒน์” เพื่อส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการอย่างยั่งยืน” หรือ โครงการอบรมให้กับสถานประกอบการ ชื่อว่า การอบรมหลักสูตร “นวัตกรรมกระบวนการจ้างงานคนพิการอย่างยั่งยืนแบบองค์รวมสำหรับสถานประกอบการ” ซึ่งของคนอื่นเราไม่รู้ รู้เพียงว่า งานใดๆ ของเรา “ยั่งยืน” จะเป็นหัวใจสำคัญที่เราตั้งเป็นเป้าหมาย และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในทัศนะผมคือ ไม่ทุจริต ลดควลามเหลื่อมล้ำ และทำให้ครอบครัวคนพิการเข้าถึงสิทธิตามกฎหมายให้ได้ เมื่อคนพิการได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ก็จะมีความยชั่งยืนอย่างแท้จริง

 


ย้อนกลับไปที่ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” หรือ Sustainable Development Goals นั้นมีทั้งหมด 17 หัวข้อ สำหรับ มูลนิธิปัญพัฒน์เพื่อคนพิการ มีการทำงานที่ครอบคลุมถึง 5 หัวข้อ แต่สำหรับ บริษัท เวิร์คเอเบิ้ล คอร์ปอเรชั่น จำกัด เราจะมุ่งเน้นเพียงหัวข้อเดียว คือ SDGs ข้อ 1 “การขจัดความยากจนทุกรูปแบบ” ซึ่งในรายละเอียดแล้ว เราจะนำข้อมูลตัวอย่างครอบครัวคนพิการที่ได้รับสิทธิส่งเสริมอาชีพอิสระสำหรับครอบครัวคนพิการจำนวนมากมายกว่า 100 ครอบครัว มาแบ่งปันสประสบการณ์ ให้เป็นตัวอย่างกับครอบครัวคนพิการทั่วประเทศไทย ดยผมจะทยอยนำเผยแพร่ไปเรื่อย แน่นอนว่า ในอนาคตก็คงจะนำมาเผยแพร่กันไม่ทันแน่นอน เพราะว่าจากหลัก 100 ก็จะไปหลัก 1,000 ครอบครัว แต่เราจะพยายามนำเสนอให้สังคมไทยได้รับทราบให้มากที่สุดครับ

 

หากผู้อ่านตามอ่านมาตั้งแต่บทความแรก จะเห็นว่า การทำงานของเรานั้น มุ่งหน้าไปในทิศทางเดียว เพราะเรามีแผนงาน 8 ปี ที่ต้องทำให้สำเร็จให้ได้ คือ การทำทุกทางให้ครอบครัวคนพิการมีอาชีพที่ยั่งยืน ไม่ใช่ให้ผู้ดูแลคนพิการ หรือคนพิการที่ยังพอหอบสังขารไหว ไปกวาดลานวัดบ้าง ล้างห้องน้ำบ้าง ขนของ ยกของ เดินไปเดินมา ตามหน่วยงานรัฐท้องถิ่นต่างๆ แล้วจ่ายเงินเพียงค่าแรงขั้นขต่ำ วันไหนทำก็ได้ค่าแรง วันไหนไม่ทำก็ไม่ได้ ซึ่งตามข้อเท็จจริงและตามหลักของระเบียบกฎหมาย ถือว่า ผิดระเบียบกฎหมายทั้งหมด คนพิการใช้เงินหมดไปวันๆ เดือนปีผ่านไป ไม่ได้อะไรเลย เงินตามกฎหมายก็ตกหล่น เข้ากระเป๋าใครบ้าง กลุ่มทุจริตทราบเรื่องนี้ดี มีแต่คนพิการที่ไม่รู้อะไรเลย แถมยังเข้าใจผิด คิดว่าสมาคมเพื่อคนพิการ มีบุญคุณมาทำดีด้วย แต่ความจริงให้เงินไม่ครบ หรือโกงทุจริตเงินของคนพิการไปแทน

 


ดังนั้น เราจะส่งเสริมให้ครอบครัวคนพิการประกอบอาชีพตามความถนัด และส่วนใหญ่จะเลือกประกอบอาชีพที่บ้าน เพราะผู้ดูแลคนพิการต้องดูแลคนพิการที่บ้านเป็นหลักสำคัญ เราจึงอยากเผยแพร่องค์ความรู้เรื่องสิทธิต่างๆ โดยเฉพาะสิทธิในการเข้าถึงอาชีพอิสระจากสถานประกอบการที่ได้เงินมากถึง 119,720 บาท ต่อราย เรียกว่า ถ้าครอบครัวคนพิการตัดสินใจประกอบอาชีพเปิดร้านค้าปลีก สินค้าก็แน่นร้านตามภาพตัวอย่างที่อยู่บนหน้าเว็บไซต์ หรือไม่ว่าจะอาชีพอะไรก็ตาม สามารถทำได้อย่างเต็มที่ ได้เงินก้อน แล้วลุยอาชีพเลย ไม่ใช่ได้เงินเป็นเบี้ยหัวแตกเดือนละ 5,000-6,000 บาท เอาตัวรอดไปวลันๆ ไม่มีอนาคต คนที่คิดวิธีแบบนี้ขึ้นมา ช่างไม่อาย แล้วเรียกวิธีการแบบนี้ว่าเป็น นวัตกรรม แค่คิดก็ไม่ใช่แล้ว ยิ่งทำยิ่งแย่ เป็นที่ประจักษ์ทั่วไปว่า ไม่ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงอะไรให้ครอบครัวคนพิการ มีแต่ลดค่า ด้อยค่าในสายตาสังคมไทยไปเรื่อยๆ

 

ผมอยากให้ครอบครัวคนพิการติดตามการทำงานของเราไปเรื่อยๆ และเข้ามามีส่วนร่วมกับเรา แล้วลท่านจะพบกับความยั่งยืนแน่นอน คือ ยั่งยืนในการมีอาชีพที่มีความเหมาะสมลงตัวกับบริบทของแต่ละครอบครัว เรามาร่วมกันสร้างการเปลี่ยนแปลง ด้วยกัน ครับ

 

ด้วยความนับถือ
นายปรีดา ลิ้มนนทกุล
คนพิการมืออาชีพ
กรรมการ บริษัท เวิร์คเอเบิ้ล คอร์ปอเรชั่น จำกัด
กรรมการ มูลนิธิปัญพัฒน์เพื่อคนพิการ
086-314-7866 (LINE)
2567-06-21